วันพุธที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2553

เรื่องราวของสามก๊กเริ่มขึ้นราว ค.ศ. 184 - 280 ในยุคของราชวงศ์ฮั่น ในรัชสมัยของพระเจ้าเลนเต้ ครองราชย์มิได้ตามอยู่โบราณราชประเพณี ทำให้ราชการแผ่นดินที่มีมาได้แปรผันไป เกิดการก่อขบถ ปล้นสะดมทั่วทุกหัวระแห่ง เตียวก๊ก เตียวโป้ เตียวเหลียง ปลุกระดมไพร่พลก่อขบถโจรโพกผ้าเหลือง สุดที่ทหารแผ่นดินจะต้านทานไหว จึงติดประกาศทุกหัวมุมเมือง รับอาสาสมัครผู้กล้าจับโจรให้จงได้

ที่เมืองตุ้นก้วนในปีนั้น เล่าปี่ , กวนอู และ เตียวหุย ได้มาพบกัน และพบว่าอุดมการณ์แทบทุกอย่างตรงกัน ทั้งสามจึงสาบานเป็นพี่น้องกันในสวนท้อแห่งหนึ่ง โดย เล่าปี่เป็นพี่ใหญ่ กวนอูเป็นคนรอง และเตียวหุยเป็นน้องเล็ก ทั้งสามได้รวบรวมกองทหารจำนวนนึงปราบโจรโพกผ้าเหลือง และได้รับความดีความชอบมากมาย

Image

ในราชสำนัก มีการชิงอำนาจระหว่าง แม่ทัพโฮจิ๋น กับ ขันทีทั้งสิบ ทำให้ราชการแผ่นดินฟั่นเฟือนไป แต่สุดท้ายการต่อสู้แย่งชิง อำนาจทั้งหมดกลับตกไปอยุ่ในมือของ ตั๋งโต๊ะ ซึ่งมี ลิโป้ เป็นแม่ทัพคู่ใจ ต่อมาตั๋งโต๊ะทำการหยาบช้า อาณาประชาราษฎร์เดือดร้อนทุกหัวระแหง แผ่นดินเดือดร้อนไปทุกหย่อมหญ้า จึงมีการรวมตัวของหัวเมืองต่างๆ รวมแล้ว 18 เมืองมาร่วมและฝึกฝนกลยุทธวิธีต่างๆ โดยมีโจโฉและอ้วนเสี้ยวเป็นแกนนำ และสามพี่น้องแห่งสวนท้อ ก็มาร่วมรบ ในฐานะของทหารเมืองปักเพ้ง ซึ่งมีกองซุนจ้านนำทัพ ขึ้นมาต่อต้านตั๊งโต๊ะ ตั๊งโต๊ะจึงได้ทำการย้ายเมืองหลวงหนีจากลกเอี้ยงไปเป็นเมืองเตียงอัน แต่เนื่องจากความไม่สามัคคีของ กองทัพพันธมิตร 18 หัวเมือง จึงไม่สามารถปราบตั๊งโต๊ะได้สำเร็จ


Image

อย่างไรก็ตาม ตั๋งโต๊ะและ ขุนศึกผู้เก่งกาจอย่างลิโป้ ก็ต้องพ่ายแพ้แก่กลอุบายสาวงาม โดยแผนการของอ้องอุ้น กับ เตียวเสี้ยนสาวงาม ทำให้ตั๋งโต๊ะและลิโป้แตกคอกันเอง สุดท้ายลิโป้ก็ลงมือฆ่าตั๋งโต๊ะด้วยตัวเอง ทำให้เกิดเหตุการณ์วุ่นวายในราชสำนักและ โจโฉได้เข้ามาคลี่คลายสถานการณ์และครองอำนาจในเมืองหลวงอย่างเด็ดขาด ส่งผลให้บ้านเมืองระส่ำระส่าย การต่อสู้แย่งชิงอำนาจ ทวีความรุนแรงเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ หัวเมืองน้อยใหญ่ตั้งตัวเป็นใหญ่ และทำสงครามแย่งชิงดินแดนกัน จนสุดท้ายเหลือรอดอยู่เพียง 3 ก๊กใหญ่ โดยในแต่ละก๊ก ก็สถาปนาตัวเองขึ้นเป็นฮ่องเต้ ทำให้ประเทศจีนในขณะนั้นได้แบ่งแยกออกเป็น 3 ส่วน


Image

จ๊กก๊ก ธาตุลม เล่าปี่เป็นฮ่องเต้ ด้วยการช่วยเหลือของ ขงเบ้ง กุนซือผู้ปราดเปรื่องที่สุดใน สามก๊ก อีกทั้งยังมี 5 ทหารเสือของจ๊กก๊ก ประกอบด้วย กวนอู เตียวหุย จูล่ง ฮองตง และ ม้าเฉียว


Image

วุยก๊ก ธาตุไฟ ฮ่องเต้คือ โจผี ลูกชายที่สืบทอดอำนาจมาจาก โจโฉ ซึ่งวุยก๊กเป็นก๊กที่ใหญ่ที่สุดและมีกำลังพลมากที่สุด ประกอบด้วย กุนซือและ แม่ทัพที่เก่งกาจมากมาย

Image

ง่อก๊ก ธาตุน้ำ ฮ่องเต้คือ ซุนกวน สืบทอดอำนาจมาจาก ซุนเซ็ก และซุนเกี๋ยนผู้เป็นบิดา จุดเด่นของง่อก๊กคือ มีความเชี่ยวชาญในการรบทางน้ำ เพราะแคว้นกังตั๋งมีแม่น้ำขนาดใหญ่เป็นขวางกั้นเป็นกำแพงป้องกันชั้นยอด เป็นที่มาของ สงครามครั้งยิ่งใหญ่ที่สุดของ 3 ก๊ก สงครามผาแดง หรือ “ยุทธนาวีเซ็กเพ๊ก” และเป็นที่มาของ ชื่อตอน โจโฉแตกทัพเรือ นั้นเอง นอกจากนี้ ง่อก๊ก ยังขึ้นชื่อเรื่อง 2 สาวงาม ไต้เกี้ยว และ เสี่ยวเกี้ยว


Image

สามก๊ก ประวัติ 5 ทหารเสือแห่งจ๊กก๊ก

เตียวหุย

--

มุทะลุ ดุดัน พละกำลังมหาศาล

อาวุธที่ถนัด : ทวน

เตียวหุย เป็นชาวเมืองตุ้นกวน มลฑณเหอเป่ย ร่างสูง 8 ฟุต(ของจีน) ศีรษะคล้ายเสือ

ดาว ตากลมใหญ่ คางนกนางแอ่น หนวดเสือโคร่ง เสียงดังฟ้าลั่น มีกำลัง

วังชาราวม้าห้อตะบึง จิตใจรุนแรงราวไฟ มีศีลสัตย์หนักแน่นราวภูเขา เคารพ

ผู้มีคุณธรรม เมตตาต่อผู้ยาก มีอาชีพขายสุราและฆ่าสุกรขาย ถือทวนยาว 10

ฟุต(ของจีน)เป็นอาวุธ สาบานเป็นพี่น้องกับเล่าปี่และกวนอู แล้วออกศึกร่วมกันเพื่อ

สร้างตัวสร้างชาติ เริ่มแต่ปราบโจรโพกผ้าเหลือง(ถ้าโจรใต้ในไทยด้วยก็จะดี

มาก) จนในที่สุดตั้งตัวขึ้นได้แคว้นเมืองเสฉวน และเตียวหุยได้ครองเมือง

ลองจิ๋ว ครั้นกวนอูถูกซุนกวนฆ่าตายด้วยการประหารชีวิต พระเจ้าเล่าปี่โกรธ

จึงยกทัพมหึมาไปรบกับซุนกวน เตียวหุยก็ยกตามไปด้วย เตียวหุยเร่งรัดทหาร

เกินไปด้วยเป็นคนเมาสุราแล้วชอบโบยตีทหาร และจะฆ่าฮอมเกียงกับเตียว

ตัดซึ้งเป็นทหารในบังคับบัญชาหากนำทัพไปล่าช้า ตกดึกด้วยความเมาสุรา

เตียวหุยจึงนอนคลุกกลับทหาร จึงถูกฮอมเกียงกับเตียวตัดสอบฆ่าเสีย แล้ว

ตัดหัวไปสวามิภักดิ์แก่ซุนกวน เตียวหุยตายเมื่ออายุ 49 ปี

เตียวหุยได้รับการยอมรับว่าเป็นขุนพลที่มีความแข็งแกร่งและทะเยอ

ทะยานที่สุดในบรรดา 5 ทหารเสือ


กวนอู

--

ซื่อสัตย์มั่นคง รู้บุญคุณคน

อาวุธที่ถนัด : ง้าว

กวนอู เป็นชาวตำบลเจหลียง เมืองเหอตง สูง 9 ฟุต(จีน) หนวดยาว 2 ฟุต(จีน) ใบหน้า

เหมือนผลพุทราสุก ริมฝีปากแดงเหมือนทาชาด ตาดั่งนกหงส์ คิ้วดั่งหนอน

ไหม เป็นคนไว้ตัวต่อคนที่สูงศักดิ์ แต่ถ่อมตนกับคนที่ต่ำศักดิ์ ชอบสู้กับคนที่

เก่งกว่า ไม่รังแกคนอ่อนแอ หรือนักรบที่ไร้อาวุธ รู้คุณคน มีศีลสัตย์ รู้การท

หาร และชำนาญในการใช้ง้าวเป็นอาวุธ เป็นพี่น้องร่วมสาบานกับเล่าปี่และ

เตียวหุย ช่วยกันตั้งตัวจนเป็นใหญ่ในแผ่นดิน ไม่ทอดทิ้งกัน มีชื่อเสียงมากใน

การรบกับงันเหลียงกับบุนทิวสองขุนพลคู่ของอ้วนเสียวซึ่งในยุคนั้นเกรียงไกร

มากเพื่อตอบแทนคุณโจโฉที่อุปถัมภ์จุน แต่หลังจากนั้นไม่นานก็หักด่านทั้ง

5 ของโจโฉเพื่อหนีกลับไปหาเล่าปี่ผู้พี่ และฆ่านายด่านทหารเอกของโจโฉ

ถึง 6 คน กวนอูเมื่อเป็นใหญ่ได้ครองเมืองเกงจิ๋วซึ่งขงเบ้งไว้ใจให้ดูแลเมืองที่

มีการแย่งชิงจากซุนกวนเป็นระยะๆ แต่ในที่สุดกวนอูก็พ่ายแพ้ในศึกสุดท้าย

จากเมืองนี้เมื่อถูกอุบายของลิบอง แม่ทัพของซุนกวนจนเสียเมืองเกงจิ๋วไป

และถูกจับได้ที่เมืองเป๊กเสีย หลังจากซุนกวนจับกวนอูได้ ก็พยายามเกลี้ย

กล่อมให้กวนอูสวามิภักดิ์และจะดูแลอย่างดีเฉกเช่นที่โจโฉเลี้ยงดูกวนอู แต่

กวนอูไม่ยอมอ่อนน้อมให้ จึงถูกประหารชีวิต และถูกตัดหัวส่งไปยังโจโฉเพื่อ

เป็นอุบายให้เล่าปี่คิดว่าเป็นฝีมือของโจโฉเสียเอง ขณะกวนอูตาย มีอายุได้

52 ปี หลังจากกวนอูตาย เล่าปี่ก็เข้าสูยุคเสื่อมโทรมในไม่ช้า


จูล่ง

--

ซื่อตรงมั่นคง และรู้คุณธรรม

อาวุธที่ถนัด : ทวน กระบี่ เกาทัณฑ์

จูล่ง เป็นชาวตำบลเสียงซัน มณฑลเหอเป่ย สูง 8 ฟุต(จีน) คิ้วดก ตาโต

หน้าผากกว้างโหนก เป็นคนซื่อ สุภาพเรียบร้อย แต่กล้าหาญอย่างน่า

อัศจรรย์ ชำนาญในการใช้ทวนเป็นอาวุธ เดิมที่อยู่กับอ้วนเสี้ยว แต่อ้วนเสี้ยว

ไม่มีสัตย์ จึงไปอยู่กับกองซุนจ้านผู้เป็นเพื่อนรักกับเล่าปี่ และรู้สึกถูกชะตากับ

เล่าปี่ ครั้นกองซุนจ้านถูกอ้วนเสี้ยวฆ่าตาย จูล่งจึงไปอยู่กับเล่าปี่ ทำหารรบมี

ความชอบมากมาย การรบที่ทำให้จูล่งมีชื่อเสียงโด่งดังที่สุดคือ การรบที่เตียง

ปันเกี้ยว ซึ่งจูล่งแสดงความกล้าหาญ พาอาเต๊า บุตรของเล่าปี่แหวกวงล้อม

ทหารนับแสนของโจโฉรอดไปได้ท่ามกลางเลือดของศัตรูแดงฉานท่วมเสื้อ

เกราะ และอาเต๊าปลอดภัย และเป็นผู้ตีเมืองฮุยเอี่ยนด้วยกำลังทหารเพียง

สามพัน เตียวหอมผู้เป็นเจ้าเมืองจึงยกนางฮวนซีให้เป็นภรรยา จูล่งก็ไม่รับ

อ้างว่าเล่าปี่ยังตั้งตัวไม่ได้ จึงยังไม่ขอมีภรรยา ตลอดชีวิตในหน้าที่ จูล่งสู้รบ

แทบจะไร้พ่ายตั้งแต่หนุ่มยันชรา เป็นกองกำลังที่มีแสนยานุภาพเกรียงไกร

เมื่อตาย ขงเบ้งร้องไห้จนสลบ บอกว่าแขนซ้ายพระเจ้าเล่าเสี้ยนขาดแล้ว

(พระเจ้าเล่าเสี้ยนคืออาเต๊าลูกของเล่าปีที่จูล่งฝ่าทัพช่วยมาในศึกเตียงปัน

เกี้ยว) เมื่อจูล่งตายอายุได้ 76 ปี

จูล่งเป็นเพียง 1 เดียวใน 5 ทหารเสือที่ตายอย่างสงบด้วยโรคชรานั่นเอง ที่

เหลือตายจากสงครามทั้งหมด


ม้าเฉียว

--

อาวุธที่ถนัด : ทวน ง้าว

รูปงาม กล้าแกร่ง ห้าวหาญ

ม้าเฉียวเป็นบุตรของม้าเท้ง เกิดที่เม้าหลิง มณฑลส่านซี หน้าเหมือนหยก ตา

คล้ายดาวตก รูปร่างเหมือนเสือ รูปงามน่าหลงใหล แต่นิสัยชอบยกตนข่ม

ท่าน ฝีมือการรบสูงมาก มีความแกล้วกล้าสามารถ แต่มักขาดความรอบคอบ

เริ่มออกศึกครั้งแรก เมื่ออายุ 17 ปี เพื่อปราบลุฉุย กุยกี กบฎแห่งราชสำนัก

ครั้นม้าเท้งบิดาม้าเฉียวถูกฆ่าตาย ม้าเฉียวจึงกลายเป็นศัตรูกับโจโฉในการรบ

ที่หน้าด่านตงก๋วน ม้าเฉียวเกือบสังหารโจโฉได้ในสนามรบซึ่งยากที่จะมีนัก

รบคนไหนทำได้ จนโจโฉต้องหนีล้มลุกคลุกคลานสะบักสะบอมหมดท่า และ

ภายหลังม้าเฉียวยังยกทัพไปตีแคว้นตอนเหนือของโจโฉ ได้ถึงเมืองกิจิ๋วจึง

ถูกตีกลับออกมาเลยเข้าร่วมทัพกับเตียวฬ่อเจ้าเมืองฮันต๋ง แต่ภายหลังผิดใจ

กัน ขงเบ้งจึงออกอุบายให้ม้าเฉียวเข้ามาร่วมทัพกับเล่าปี่ กวนอู เตียวหุย จู

ล่ง และฮองตง การได้ม้าเฉียวเข้ามาทำให้กองกำลังเล่าปี่เข้มแข้งขึ้นเป็นอัน

มากจนสามารถเข้ายึดแคว้นเสฉวนได้ หลังจากนั้นเล่าปี่ที่รวนเรมานานจึงตั้ง

ตัวเป็นใหญ่ได้ และขงเบ้งจึงแต่งตั้ง 5 ทหารเอกให้กลายเป็น 5 ทหารเสือขึ้น

มาในที่สุด

เรื่องฝีมือนั้นม้าเฉียวเคยปะทะกับเตียวหุยมาแล้วแต่ไม่รู้ผลแพ้ชนะ และหลัง

จากรวมกันได้แล้ว กวนอูจึงอยากขอประลองกับม้าเฉียวบ้าง แต่เล่าปี่ห้ามไว้

เสียก่อน ม้าเฉียวตายในสนามรบเมื่ออายุได้ 47 ปีขณะทำศึกกับเบ้งเฮกผู้ไม่

ยอมรับความพ่ายแพ้แก่ขงเบ้ง


ฮองตง

--

อาวุธที่ถนัด : เกาทัณฑ์ ดาบสั้น มีด

ชายชราที่น่าเกรงขามและแข่งแกร่งกว่าชายหนุ่ม

ฮองตง เป็นชาวเมืองหนางหยัง มณฑลเหอหนาน เข้มแข็งเหมือนเสือ บ่าแรง

เหมือนหมี รูปร่างสง่าน่าเกรงขาม ชำนาญในการรบ ถือมีดใหญ่เป็นอาวุธ

สามารถยิงเกาทัณฑ์หนัก 200 ชั่งได้อย่างแม่นยำ มีความทรหดอดทนอย่าง

หาตัวจับมิได้ มีความกล้าหาญชนิดไม่ยอมแพ้ใคร เดิมเป็นทหารของเล่าผวน

หลานเล่าเปียวเจ้าเทืองเตียงสา เล่าเล่าผวนออกขากราชการแล้ว ฮองตงก็

รับราชการกับฮันเหียนเจ้าเมืองใหม่ ต่อมาเล่าปี่ให้กวนอูไปตีเมืองเตียงสา ได้

รบกับกวนอูจนตกจากม้า อาวุธหลุดจากมือ กวนอูมีความสัตย์ไม่ทำร้ายคนไม่

มีอาวุธ ฮองตงจึงคิดถึงคุณและรบกันต่อ ระหว่างที่กวนอูควบม้าตามมาด้วย

ความประมาท ฮองตงสามารถฆ่ากวนอูได้ด้วยเกาทัณฑ์ของเขา แต่กลับยิง

หมวกพู่ของกวนอูเพื่อเป็นการขับไล่ ฮันเหียนเจ้าเมืองเตียงสาเห็นว่าฮองตง

ไม่ตั้งใจทำการรบเกรงว่าจะเป็นกบฏ จึงให้ทหารไปจับฮองตงมาฆ่าเสียจึง

เกิดการวุ่นวายภายใน และฮันเหียนถูกอุยเอี๋ยนฆ่าตาย ฮองตงจึงนึกถึงกวนอูมิ

ขาด จนในที่สุดก็ยอมเขาร่วมทัพกับเล่าปี่ กวนอู เตียวหุย และจูล่ง ขณะนั้น

ฮองตงมีอายุได้ 60 ปี ฮองตงทำการรบให้เล่าปี่มีความดีความชอบมากมาย

ข้าศึกมักประมาทฮองตงว่าเป็นคนแก่ไร้กำลังวังชา แต่ก็ตายด้วยฝีมือ

เกาทัณฑ์อันลือชื่อและสติปัญญาของเขามานักต่อนัก ฮองตงเคยพูดกับข้า

ศึกไว้ว่า "ถึงกุชราก็จริง แต่ง้าวที่กุถืออยู่นี้ยังมีความคมอยู่ มืงจะสามารถเอา

คอมืงรับง้าวของกุนี้ได้หรือไม่" ก่อนที่จะปราบข้าศึกเรียบวุธ การรบครั้งสำคัญ

ที่สุดของเขาคือการทำลายคลังเสบียงของแฮหัวเต๊กที่เขาเทียงตองสัน ซึ่งมี

กำลังป้องกันถึงสิบหมื่น แต่ฮองตงให้สติปัญญาทำการรบและได้ชัยชนะอย่าง

สวยงาม แต่ศึกสุดท้ายของเขาคือศึกที่พระเจ้าเล่าปี่ยกทัพไปรบกับพระจ้าซุน

กวนเพื่อแก้แค้นให้กวนอู ระหว่างการรบ ฮองตงผู้ซึ่งเป็นเทพในด้านเกาทัณฑ์

ก็ตายด้วยเกาทัณฑ์จากการปัดป้องลูกเกาทัณฑ์นับห่าฝน จากกองกำลังของ

พัวเจี้ยง ก่อนตายพระเจ้าเล่าปี่ถึงกับร้องให้และขอโทษฮอองตงที่เคย

ปรามาสฮองตงในศึกนี้ว่าแก่ชราเกินไป ทำให้ให้ฮองตงเกิดความมุมานะเกิน

กำลังและพลาดท่าในที่สุด เมืองฮองตงตาย อายุได้ 70 เศษ ชื่อของเขา

ถูกกล่าวขานสู่บรรพชนรุ่งหลังอย่างภาคภูมิ



ปล. 5 ทหารเสือแห่งจ๊กจ๊กมีฝือมือในการรบสูงจนเป็นที่หวาดหวั่นของกอง

ทัพข้าศึก น่าเสียดายที่ไม่มีศึกครั้งไหนที่ทหารเสือทั้ง 5 ร่วมรบพร้อมกันเลย

เนื่องจากความสงบสุขนั่นเอง มีมากสุดคือรบพร้อมกัน 4 คน(เพราะกวนอูตาย

ไปเสียก่อนแล้ว) หลังกวนอูตายจึงเริ่มเข้าสูยุคเสื่อมโทรมของจ๊กก๊ก หลังจาก

นั้นค่อยๆทยอยตายกันทีละคนในเวลาไม่นานเพราะความดื้อดึงของพระเจ้า

เล่าปี่ที่ไม่เชื่อฟังขงเบ้ง


กวนอูตาย ---->เล่าปี่แก้แค้น---->เตียวหุยถูกลอบฆ่าก่อนทำศึกแก้แค้นนั้น---

->ฮองตงตายในศึกนั้น---->เล่าปี่ตรอมใจตาย---->ขงเบ้งมากู้ทัพและล่า

ถอย----->สองฝ่ายยอมผูกมิตรและรวมกันตีโจโฉ---->ขงเบ้งยกไปตีโจโฉ----

>ม้าเฉียวตายในศึกนั้น----->ขงเบ้งยกทัพไปตีโจโฉอีก---->จูล่งแก่ตาย-----

>ขงเบ้งตรอมใจตาย(ประวัติศาสตร์พบว่าเป็นมะเร็งครับ)



นี่คือข้อมูลเล็กๆน้อยๆเกี่ยว 5 ทหารเสือของเล่าปี่นะครับ


ของฝั่งโจโฉมีแม่

ทัพที่ฝีมือใกล้เคียงกันครับอย่างแฮหัวตุ้น แฮหัวเอี๋ยน ซิหลง เคาทู เตียนอุย

พระกาฬทั้งนั้นครับ ทางฝั่งของซุนกวนก็มี ไทสูจู้ กำเหลง จิวยี่ เก่าๆก็มีซุน

เกี๋ยน ซุนเซ็ก หรือใหม่ๆก็ลกซุนนี่แหละที่ตีทัพเล่าปี่ชุดล้างแคนกวนอูได้

สำเร็จ

กลศึกสามก๊ก

ในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊ก มีการทำศึกสงครามมากมายหลายต่อหลายครั้ง การต่อสู้ทางด้านสติปัญญาและกุศโลบายในการแสดงแสนยานุภาพแก่ศัตรู การปกครองไพร่พลรวมทั้งผู้ใต้บังคับบัญชา ทั้งการนำกำลังไพร่พลทหารในการบุกโจมตีและยึดครองสถานที่ หรือทางการพิชิตชัยชนะทางการทูตในการเจรจาต่อรองผูกสัมพันธ์ไมตรีกับแคว้นอื่น การทหาร การเมือง การเศรษฐกิจ การบริหารปกครองบ้านเมือง การใช้คนอย่างถูกต้อง การโจมตีทางด้านจิตใจรวมทั้งการนำเอาทรัพยากรทุกอย่างที่มี เพื่อนำมาใช้ในการทำศึกสงครามเพื่อแย่งชิงอำนาจความเป็นใหญ่ซึ่งกันและกัน
แต่มีบ่อยครั้งที่กำลังทหารที่มีกำลังไพร่พลน้อยกว่ากลับเอาชนะกำลังทหารที่มีกำลังไพร่พลมากกว่าได้ ซึ่งสิ่งสำคัญที่สุดคือกลยุทธ์ในด้านยุทธศาสตร์และการชำนาญภูมิศาสตร์สถานที่ในการทำศึกสงคราม ในสามก๊กมีการใช้กลศึกจำนวนมากมายในการหลอกล่อศัตรูเพื่อชัยชนะ การต่อสู้ทางสติปัญญา สุดยอดแห่งกุศโลบายในการแสดงศักยภาพของกองทัพ แม่ทัพที่นำทัพในสนามรบนอกจากจะมีฝีมือในการที่สูงส่งแล้ว จะต้องรู้หลักตำราพิชัยสงคราม เสนาธิการที่ปรึกษาทัพจะต้องรอบรู้ในทุก ๆ ด้าน รู้แจ้งในกลศึกต่าง ๆ ของศัตรู รู้ถึงจิตใจของทหารใต้บังคับบัญชา และรู้จักฉกฉวยจังหวะสำคัญในการโจมตีจึงจะสามารถเอาชนะศัตรูได้ จูกัดเหลียง จิวยี่ สุมาอี้ ลกซุน ตั๋งโต๊ะ โจโฉ กุยแกและบุคคลอื่นอีกมากมาย ล้วนแต่ชำนาญกลศึกในการทำศึกสงคราม ซึ่งกลศึกสำคัญและเป็นมาตรฐานของการทำสงครามสามก๊ก

สามก๊ก

สามก๊ก (อังกฤษ: Romance of the Three Kingdoms ; จีนตัวเต็ม: 三國演義; จีนตัวย่อ: 三国演义; พินอิน: sānguó yǎnyì) เป็นวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์ เป็นที่รู้จักและได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่อง จัดเป็นวรรณกรรมเพชรน้ำเอกของโลก เป็นมรดกทางปัญญาของปราชญ์ชาวตะวันออกที่สุดยอด มีการแปลเป็นภาษาต่าง ๆ มากกว่า 10 ภาษา[1]และมีการตีพิมพ์อย่างแพร่หลายทั่วโลก แต่งขึ้นประมาณในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 14 ยุคสมัยราชวงศ์หยวน บทประพันธ์โดยหลอกว้านจง (อังกฤษ: Luo Guanzhong ; จีน: 羅貫中) แปลและเรียบเรียงเป็นภาษาไทยโดยเจ้าพระยาพระคลัง (หน) ในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 ในปี พ.ศ. 2345 ในรูปแบบสมุดไทย ตีพิมพ์ครั้งแรกโดยโรงพิมพ์ของหมอบรัดเลย์ ในปี พ.ศ. 2408 และได้รับการตีพิมพ์ซ้ำอีกครั้งภายใต้ชื่อ "หนังสือสามก๊ก ฉบับราชบัณฑิตยสภา" โดยโรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนากร ในปี พ.ศ. 2471 ปัจจุบันสามก๊กฉบับเจ้าพระยาพระคลัง (หน) ได้รับการตีพิมพ์ใหม่อีกหลายครั้งโดยหลายสำนักพิมพ์ถือเป็นวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เล่มที่ 2 โดยแปลหลังจากไซ่ฮั่นและเก่าแก่ที่สุดในไทย
สามก๊กมีเนื้อหาหลากหลายรสชาติ เต็มไปด้วยกลเล่ห์เพทุบาย กลศึกในการรบ การชิงรักหักเหลี่ยม ความเคียดแค้นชิงชัง ความซื่อสัตย์และการให้อภัย ซึ่งมีเนื้อหาและเรื่องราวในทางที่ดีและร้ายปะปนกัน[3] ภาพโดยรวมของสามก๊กกล่าวถึงประวัติศาสตร์จีนในยุคสามก๊ก ในปี พ.ศ. 763 - พ.ศ. 823 โดยจุดเริ่มต้นของสามก๊กเริ่มจากยุคโจรโพกผ้าเหลืองในปี พ.ศ. 726 ที่ออกอาละวาด จนเป็นเหตุให้บุคคลทั้งสามคือเล่าปี่ กวนอูและเตียวหุย ได้ร่วมสาบานตนเป็นพี่น้องและร่วมปราบกบฏโจรโพกผ้าเหลือง รวมทั้งการแย่งและช่วงชิงอำนาจความเป็นใหญ่ในช่วงปลายราชวงศ์ฮั่นของก๊กต่าง ๆ อันประกอบด้วยวุยก๊กหรือก๊กเว่ย (魏) จ๊กก๊กหรือก๊กสู่ (蜀) และง่อก๊กหรือก๊กหวู (吳) จนถึงการสถาปนาราชวงศ์จิ้นโดยสุมาเอี๋ยน รวมระยะเวลาประมาณ 60 ปี นอกจากนี้ สามก๊กยังเป็นหนึ่งในสี่สุดยอดวรรณกรรมจีนร่วมกับไซอิ๋ว ซ้องกั๋งและความฝันในหอแดง ซึ่งนักอ่านหนังสือจำนวนมากยกย่องสามก๊กเป็นบทเรียนตำราพิชัยสงครามภาคปฏิบัติ การบริหารและเศรษฐกิจ